วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

ดนตรี นาฎสิลป์

1.1 ระดับเสียง (Pitch) หมายถึง ระดับความสูง-ต่ำของเสียง ซึ่งเกิดการจำนวนความถี่ของการสั่นสะเทือน กล่าวคือ ถ้าเสียงที่มีความถี่สูง ลักษณะการสั่นสะเทือนเร็ว จะส่งผลให้มีระดับเสียงสูง แต่ถ้าหากเสียงมีความถี่ต่ำ ลักษณะการสั่นสะเทือนช้าจะส่งผลให้มีระดับเสียงต่ำ
1.2 ความสั้น-ยาวของเสียง (Duration) หมายถึง คุณสมบัติที่เกี่ยวกับความยาว-สั้นของเสียง ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่สำคัญอย่างยิ่งของการกำหนดลีลา จังหวะ ในดนตรีตะวันตก การกำหนดความสั้น-ยาวของเสียง สามารถแสดงให้เห็นได้จากลักษณะของตัวโน้ต เช่น โน้ตตัวกลม ตัวขาว และตัวดำ เป็นต้น สำหรับในดนตรีไทยนั้น แต่เดิมมิได้ใช้ระบบการบันทักโน้ตเป็นหลัก แต่ย่างไรก็ตาม การสร้างความยาว-สั้นของเสียงอาจสังเกตได้จากลีลาการกรอระนาดเอก ฆ้องวง ในกรณีของซออาจแสดงออกมาในลักษณะของการลากคันชักยาวๆ
1.3 ความเข้มของเสียง (Intensity) ความเข้มของสียงเกี่ยวข้องกับน้ำหนักของความหนักเบาของเสียง ความเข้มของเสียงจะเป็นคุณสมบัติที่ก่อประโยชน์ในการเกื้อหนุนเสียงให้มี ลีลาจังหวะที่สมบูรณ์
1.4 คุณภาพของเสียง (Tone Quality) เกิดจากคุณภาพของแหล่งกำเนิดเสียงที่แตกต่างกัน ปัจจัยที่ทำให้คุณภาพของเสียงเกิดความแตกต่างกันนั้น เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น วิธีการผลิตเสียง รูปทรงของแหล่งกำเนิดเสียง และวัสดุที่ใช้ทำแหล่งกำเนิดเสียง ปัจจัยเหล่านี้ก่อให้เกิดลักษณะคุณภาพของเสียง ซึ่งเป็นหลักสำคัญให้ผู้ฟังสามารถแยกแยะสีสันของสียง (Tone Color) ระหว่างเครื่องดนตรีเครื่องหนึ่งกับเครื่องหนึ่งได้อย่างชัดเจน

สังคมศึกษา

สาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เป็นวิชาที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วยเรื่อง ราวเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม การดำเนินชีวิต รวมถึงศาสนา ศีลธรรม และจริยธรรม วิชาสังคมศึกษาจึงช่วยให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจว่ามนุษย์ดำรงชีวิตอย่างไร และเข้าใจถึงการพัฒนา การเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย ตามกาลเวลา ตามเหตุปัจจัยต่างๆ ทำให้เกิดความเข้าใจในตนเองและเข้าใจผู้อื่น ยอมรับในความแตกต่าง มีคุณธรรม มีความอดทน อดกลั้น สามารถนำความรู้ไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิต มีคุณภาพชีวิตที่ดี อยู่ในสังคมอย่างเป็นสุข เป็นพลเมืองดีของประเทศชาติและสังคมโลก อันเป็นเป้าหมายที่แท้จริงของการเรียนวิชาสังคมศึกษางเชื่อมโยงให้เด็กเรียนรู้การใช้ชีวิตที่ถูกต้อง อยู่อย่างมีความสุข โดยเรียนผ่านสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้นในห้องหรือในโรงเรียน หรือวิเคราะห์จากตัวอย่างสถานการณ์ที่เป็นจริงในสังคม การเรียนการสอนสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมเป็นการศึกษาที่พัฒนาทั้ง 3 ด้านของชีวิตของเรา นั่นคือ
  • ด้านพฤติกรรม (ศีล) คือ
  • พฤติกรรมในความสัมพันธ์กับโลกแห่งวัตถุ ได้แก่ การใช้ตา หู จมูก ลิ้น กาย ในการส่งเสริมคุณภาพชีวิต มีประสิทธิ ภาพในการใช้งาน ให้ดูเป็น ฟังเป็น และการบริโภคปัจจัย 4 รวมถึงการใช้ประโยชน์จากวัตถุอุปกรณ์ต่างๆ รวมทั้งเทคโน โลยีด้วยปัญญา มุ่งคุณค่าที่แท้จริง และส่งเสริมการพัฒนาชีวิต เรียกว่า กินเป็น บริโภคเป็น ใช้เป็น

วันศุกร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2562

ภาษาอังกฤษ

การเรียนรู้ภาษาใหม่เพิ่มอีก 1 ภาษามักจะเริ่มเรียนกันตั้งแต่วัยเด็ก สำหรับประเทศไทยเราก็เช่นกัน เราได้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ 2ในชั้นเรียนมาตั้งแต่เริ่มเข้าเรียนเนื่องจากทุกคนเห็นความสำคัญ ของการติดต่อสื่อสารกับคนอื่นที่อาศัยอยู่ในประเทศต่างๆทั่วโลก ทำให้เราต้องมีภาษากลางที่จะใช้ช่วยในการติดต่อสื่อสาร ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่มีการใข้อย่างกว้างขวางในทั่วโลก สื่อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือ อินเทอร์เน็ต ล้วนแต่ทำให้เราเห็นความสำคัญ ของภาษาอังกฤษมากขึ้น และก็ไม่มีคำว่าสายเกินไปสำหรับการเรียนรู้ ถึงแม้คุณจะมีหรือไม่เคยมีพื้นฐานทางภาษามาก่อนเลย Modulo ก็ยินดีที่จะช่วยคุณให้ได้เรียนภาษาได้อย่างสนุก ได้ผลเร็ว และนำไปใช้ได้จริง เพราะเป็นที่รู้กันว่าภาษาอังกฤษมีบทบาทในการช่วยเราในหลายสถานการณ์

โลกของการใช้ภาษาอังกฤษ

ภาษาอังกฤษสามารถใช้ได้จริงประเทศอังกฤษเป็นที่แรกในโลก ที่มีการใช้ภาษาอังกฤษ ต่อมา ก็มีการใช้ภาษานี้กันอย่างกว้างขวางทั่วโลก ภาษาอังกฤษยังเป็นภาษาทางการ ของในอีกหลายประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และในอีกหลายประเทศ เรายังทราบกันอีกว่า มีภาษาอังกฤษเป็นหนึ่งในภาษา ที่ประชากรทั่วโลก ใช้กันมากที่สุด ทำให้มีการเรียนภาษาอังกฤษ เป็นภาษาที่สองในแต่ละประเทศ นอกจากนี้ยังเป็นภาษาที่ใช้ในทางการของ องค์กรสำคัญๆของโลก เช่น United Nations เป็นต้น

เรียนภาษาอังกฤษที่นี่ราคาถูก คุ้มค่า เรียนได้เร็ว
และเนื่องจากมีการใช้ภาษาอังกฤษกัน อย่างกว้างขวางทั่วโลก จึงมีการกล่าวกันบ่อยๆ ว่าภาษาอังกฤษคือภาษาโลก ซึ่งถึงแม้จะไม่ได้ เป็นภาษาทางการของในประเทศทั่วโลก เป็นส่วนใหญ่ แต่ก็เป็นภาษาที่แต่ละประเทศ ได้ให้มีการเรียนการสอนเป็นภาษาต่างประเทศ ในมาตรฐานของการศึกษา นอกจากนี้ยังใช้เป็นภาษาหลักในการสื่อสารของระบบทางเดินอากาศ และระบบการเดินเรือ ทั่วโลก เรายังไม่่ได้กล่าวถึง หนังสือมากมายที่พิมพ์จำหน่ายเป็นภาษาอังกฤษ หลักความรู้ทางวิทยาศาสตร์ต่างๆ ก็ใช้ภาษาอังกฤษ จะเห็นได้ว่าภาษาอังกฤษมีความสำคัญกับเราอย่างเห็นได้ชัดเจน
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ภาษาอังกฤษพื้นฐาน

วิทยาศาสตร์

วิทยาศาสตร์ [note 1] หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ในธรรมชาติทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต รวมทั้งกระบวนการประมวลความรู้เชิงประจักษ์ ที่เรียกว่ากระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และกลุ่มขององค์ความรู้ที่ได้จากกระบวนการดังกล่าว
การศึกษาในด้านวิทยาศาสตร์ยังถูกแบ่งย่อยออกเป็น วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ และ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ คำว่า science ในภาษาอังกฤษ ซึ่งแปลว่า วิทยาศาสตร์นั้น มาจากภาษาลาติน คำว่า scientia ซึ่งหมายความว่า ความรู้ ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ฟรานซิส เบคอนได้พยายามคิดค้นวิธีมาตรฐานในการอุปนัย เพื่อนำมาใช้สร้างทฤษฎีหรือกฎต่าง ๆ ทางวิทยาศาสตร์จากข้อมูลที่ทดลองหรือสังเกตได้จากธรรมชาติ เป็นผู้ถอนรื้อและปรับปรุงแนวความคิดเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สมัยเก่า ที่ยึดกับแนวความคิดของอริสโตเติลทิ้งไป. ณ ขณะนั้น กาลิเลโอได้กำหนดลักษณะสำคัญของวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ไว้ดังนี้
  • ทำนายสิ่งที่เกิดขึ้นในปรากฏการณ์ธรรมชาติได้ โดยที่ไม่จำเป็นต้องอธิบายสาเหตุได้ เช่น ในขณะที่ยังไม่มีความรู้เรื่องแรงโน้มถ่วงนั้น กาลิเลโอไม่สนใจที่จะอธิบายว่า "ทำไมวัตถุถึงตกลงสู่พื้นดิน ?" แต่สนใจคำถามที่ว่า "เมื่อมันตกแล้ว มันจะถึงพื้นภายในเวลาเท่าใด ?"
  • ใช้คณิตศาสตร์เพื่อเป็นภาษาหลักของวิทยาศาสตร์ (ดูหัวข้อ คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์)
ในเวลาต่อมา ไอแซก นิวตันได้ต่อเติมรากฐานและระบบระเบียบของแนวคิดเหล่านี้ และเป็นต้นแบบสำหรับสาขาด้านอื่น ๆ ของวิทยาศาสตร์
ก่อนหน้านั้น, ในปี ค.ศ. 1619 เรอเน เดส์การตส์ ได้เริ่มเขียนความเรียงเรื่อง Rules for the Direction of the Mind (ซึ่งเขียนไม่เสร็จ). โดยความเรียงชิ้นนี้ถือเป็นความเรียงชิ้นแรกที่เสนอกระบวนการคิดเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สมัยใหม่และปรัชญาสมัยใหม่. อย่างไรก็ตามเนื่องจากเดส์การตส์ได้ทราบเรื่องที่กาลิเลโอ ผู้มีความคิดคล้ายกับตนถูกเรียกสอบสวนโดย โป๊ปแห่งกรุงโรม ทำให้เดส์การตส์ไม่ได้ตีพิมพ์ผลงานชิ้นนี้ออกมาในเวลานั้น
การพยายามจะทำให้ระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์เป็นระบบนั้น ต้องพบกับปัญหาของการอุปนัย ที่ชี้ให้เห็นว่าการคิดแบบอุปนัย (ซึ่งเริ่มต้นโดยฟรานซิส เบคอน) นั้น ไม่ถูกต้องตามหลักตรรกศาสตร์. เดวิด ฮูมได้อธิบายปัญหาดังกล่าวออกมาอย่างละเอียด คาร์ล พอพเพอร์ในความคิดลักษณะเดียวกับคนอื่น ๆ ได้พยายามอธิบายว่าสมมติฐานที่จะใช้ได้นั้นจะต้องทำให้เป็นเท็จได้ (falsifiable) นั่นคือจะต้องอยู่ในฐานะที่ถูกปฏิเสธได้ ความยุ่งยากนี้ทำให้เกิดการปฏิเสธความเชื่อพื้นฐานที่ว่ามีระเบียบวิธี 'หนึ่งเดียว' ที่ใช้ได้กับวิทยาศาสตร์ทุกแขนง และจะทำให้สามารถแยกแยะวิทยาศาสตร์ ออกจากสาขาอื่นที่ไม่เป็นวิทยาศาสตร์ได้

ภาษาจีน

  1. นทึกหน่วยการเรียนรู้และกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ 1) หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง การสะกดพินอิน เวลา 5 ชั่วโมง รายวิชา ภาษาจีน1 รหัส จ 20201 ระดับชั้น ม.1 (วิชาเลือก) 2) ผลการเรียนรู้ ผลการเรียนรู้ 2 ระบุสัทอักษรตามระบบพินอิน และประสมเสียงคาง่าย ๆตามหลักการออกเสียง ผลการเรียนรู้ 4 ตอบคาถามง่าย ๆ จากการฟัง ผลการเรียนรู้ 7 พูดโต้ตอบด้วยประโยคสั้น ๆ เพื่อสื่อสารระหว่างบุคคล ผลการเรียนรู้ 6 พูดเพื่อขอและให้ข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง เพื่อน ครอบครัวและสิ่งใกล้ตัว 3) ความคิดรวบยอด พูดโต้ตอบสั้นๆ ด้วยถ้อยคาสุภาพ อ่านออกเสียงคา วลี ข้อความ และบทความได้ถูกต้องตามหลักการออกเสียง อีกทั้งเข้าใจความแตกต่างระหว่างภาษาจีนกับภาษาไทยในเรื่องคา วลี สานวน ประโยค ข้อความต่างๆ และนาไปใช้ใน สถานการณ์ต่างๆอย่างถูกต้องเหมาะสม 4) สาระการเรียนรู้ ความรู้(K) – พูดโต้ตอบ – อ่านออกเสียง – เข้าใจ ทักษะกระบวนการ(P) – ถ้อยคาสุภาพตามมารยาท – คา วลี ข้อความ และบทความ – ความแตกต่างระหว่างภาษาจีนกับภาษาไทย คุณลักษณะอันพึงประสงค์ (A) – รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ – ซื่อสัตย์สุจริต 5) สมรรถนะของผู้เรียน – ความสามารถในการจดจา – ความสามารถในการสนทนา 6) ชิ้นงาน/ภาระงาน – พูดสนทนาโต้ตอบ -บอกลักษณะร่างกายของตนเอง เพื่อน และครอบครัวตามบทเรียน
  2. 2. 7) กิจกรรมการจัดการเรียนรู้ ชั่วโมงที่ 1 -2 ขั้นนาเข้าสู่บทเรียน 1. ครูทักทายนักเรียน 2. ครูสอนเกี่ยวกับการบอกชั้นในห้องเรียน 3. อธิบายซ้าหลาย ๆ ครั้งเพื่อให้แน่ใจว่านักเรียนเข้าใจ ขั้นสอน/ฝึกปฏิบัติ 1. ครูสอนวิธีอ่านพยัญชนะในภาษาจีนทั้งหมด 2. ให้นักเรียนฝึกอ่านด้วยตนเองซ้าไปมา 3. สอนเสียงสระจานวน 6 ตัว 4. ให้นักเรียนฝึกอ่านด้วยตนเองซ้าไปมา 5. อธิบายนักเรียนเกี่ยวกับวิธีการประสมเสียงพยัญชนะ ในภาษาจีน b-h กับสระ ทั้ง 6 ตัว เช่น ba mo de ni gu lü ชั่วโมงที่ 3-4 ขั้นนาเข้าสู่บทเรียน 1. ครูทักทายนักเรียน 2. ให้นักเรียนอ่านทบทวนพยัญชนะและสระที่เรียนมาทั้งหมด b p m f p t n l g k h j q x z c s zh ch sh r y w a o e I u ü

วันอาทิตย์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2561

ศิลปะ






ศิลปะ (สันสกฤตशिल्प ศิลฺป) ทั่ว ๆ ไปแล้วจะหมายถึงการกระทำหรือขั้นตอนของการสร้างชิ้นงานศิลปะโดยมนุษย์ คำแปลในภาษาอังกฤษที่ตรงที่สุดคือ Art ศิลปะเป็นคำที่มีความหมายกว้าง แต่ส่วนใหญ่แล้วจะมีความหมายเกี่ยวกับการสร้างสรรค์, สุนทรียภาพ, หรือการสร้างอารมณ์ต่าง ๆ
งานศิลปะ จะรวมถึงชิ้นงานหลาย ๆ ชนิดโดยผู้สร้างตั้งใจสร้างชิ้นงานเพื่อสื่อสาร, สื่ออารมณ์, หรือใช้สัญลักษณ์เพื่อให้ผู้ชมชิ้นงานตีความ ผู้สร้างงานศิลปะ มักเรียกรวม ๆ ว่า ศิลปิน
ศิลปะอาจรวมไปถึงงานในรูปแบบต่าง ๆ เช่น งานเขียน บทกวี การเต้นรำ การแสดง ดนตรี งานปฏิมากรรม ภาพวาด-ภาพเขียน หรือ อื่น ๆ อย่างไรก็ตามส่วนใหญ่แล้วศิลปะจะหมายถึงงานทางทัศนศิลปะพวก ภาพวาด-ภาพเขียน งานประติมากรรม งานแกะสลัก รวมถึง conceptual art และ installation art
ศิลปะนับว่าเป็นศาสตร์ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน ตั้งแต่มีมนุษดขึ้น และนับว่าเป็นศาสตร์ของนักปราชญ์ที่เป็นที่ชื่นชม[1]

สุขศึกษา


เป็นการศึกษาด้านสุขภาพที่มีเป้าหมาย เพื่อการดำรงสุขภาพ การสร้างเสริมสุขภาพและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคคล ครอบครัว และชุมชนให้ยั่งยืน
                   - สุขศึกษา มุ่งเน้นให้ผู้เรียนพัฒนาพฤติกรรมด้านความรู้ เจตคติ คุณธรรม ค่านิยม และการปฏิบัติเกี่ยวกับสุขภาพควบคู่ไปด้วยกัน
                   - พลศึกษา มุ่งเน้นให้ผู้เรียนใช้กิจกรรมการเคลื่อนไหว การออกกำลังกาย การเล่นเกมและกีฬา เป็นเครื่องมือในการพัฒนาโดยรวมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม สติปัญญา รวมทั้งสมรรถภาพเพื่อสุขภาพและกีฬา
                   สาระที่เป็นกรอบเนื้อหาหรือขอบข่ายองค์ความรู้ของกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ประกอบด้วย
                   - การเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์ ผู้เรียนจะได้เรียนรู้เรื่องธรรมชาติของการเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์ ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโต ความสัมพันธ์เชื่อมโยงในการทำงานของระบบต่าง ๆ ของร่างกาย รวมถึงวิธีปฏิบัติตนเพื่อให้เจริญเติบโตและมีพัฒนาการที่สมวัย
                   - ชีวิตและครอบครัว ผู้เรียนจะได้เรียนรู้เรื่องคุณค่าของตนเองและครอบครัว การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย จิตใต อารมณ์ความรู้สึกทางเพศ การสร้างและรักษาสัมพันธภาพกับผู้อื่น สุขปฏิบัติทางเพศ และทักษะในการดำเนินชีวิต
                   - การเคลื่อนไหว การออกกำลังกาย การเล่นเกม กีฬาไทย และกีฬาสากล ผู้เรียนได้เรียนรู้เรื่องการเคลื่อนไหวในรูปแบบต่าง ๆ การเข้าร่วมกิจกรรมทางกายและกีฬาทั้งประเภทบุคคล และประเภททีมอย่างหลากหลายทั้งไทยและสากล การปฏิบัติตามกฎ กติกา ระเบียบ และข้อตกลงในการเข้าร่วมกิจกรรมทางกาย และกีฬา และความมีน้ำใจนักกีฬา

ดนตรี นาฎสิลป์

1.1 ระดับเสียง (Pitch)  หมายถึง ระดับความสูง-ต่ำของเสียง ซึ่งเกิดการจำนวนความถี่ของการสั่นสะเทือน กล่าวคือ ถ้าเสียงที่มีความถี่สูง ลักษณะกา...